เมนู

10. ปุเรชาตปัจจัย


[139] 1. จิตตวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ 12. อาเสวนปัจจัย


[140] 1. จิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตวิปปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย
มี 1 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[141] 1. จิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. จิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตวิปปยุตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นจิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
3. จิตตสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสัมปยุตต-
ธรรม และจิตตวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย